วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Social Network กับนักเรียนและสังคมไทย


        Social Network คือเครือข่ายสังคมออนไลน์  หรือการที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคนหนึ่ง เชื่อมโยงกับเพื่อนอีกนับสิบ รวมไปถึงเพื่อนของเพื่อนอีกนับร้อย  ผ่านผู้ให้บริการด้านSocial Network บนอินเตอร์เน็ต เช่น Facebook, Blogger, Twitter หรือ Tagged เป็นต้น  การเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้เกิดเครือข่ายขึ้น เช่น เราสามารถรู้จักเพื่อนของเพื่อนเราได้  เป็นทอดๆ ต่อไปเรื่อย  ทำให้เกิดสังคมเสมือนจริงขึ้นมา  สามารถสร้างคอนเน็คชั่นใหม่ๆ ได้ง่าย  และเมื่อเราแชร์  ข้อความหรืออะไรก็ตามลงไปในเครือข่าย  ทุกคนในเครือข่ายก็สามารถรับรู้ได้พร้อมกัน  และสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เราแชร์ได้  เช่น  แสดงความคิดเห็น (Comment)  กดไลค์  ซึ่งอาจจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละผู้ให้บริการ  ความโดดเด่นในเรื่องความง่ายของ Social Network ทำให้ธุรกิจ และนักการตลาดสนใจที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการ

        



พฤติกรรมการใช้งาน Social Network ของคนไทย

          พฤติกรรมของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ปรับเปลี่ยนจากการรับข่าวสารจาก Portral Site มาเป็นSocial Network เว็บไซต์ เริ่มเด่นชัดตั้งแต่ช่วงปี 2007 หรือ พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีผลการศึกษาพบว่าประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ใช้งานSocial Network ใช้เพื่ออัพเดตข้อมูลข่าวสาร และอีก 1 ใน 3 เพื่อคุยกับเพื่อนและคนรู้จัก นั่นสะท้อนให้เห็นเป็นอย่างดีว่าผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ติดตามข่าวสารจากSocial Network มากขึ้น


10 ภัยอันตรายจาก Social Network ที่ควรระวัง

1. หลอกว่ามาดีแต่จริงๆประสงค์ร้าย 
              การโจมตีแบบนี้ เป็นหนึ่งในวิธีการที่นิยมใช้เป็นอย่างมาก เน้นการโจมตีที่ตัวบุคคล โดยผู้ใช้งานมักจะคาดไม่ถึง และ ตกเป็น เหยื่อในที่สุด ส่วนมากจะมาในรูปแบบของ แอพพลิเคชั่นบน Facebook หรือการเล่นเกมเพื่อแลกของรางวัล เมื่อผู้ใช้งานคลิกเข้าไปใช้ งานแอพพลิเคชั่นหรือร่วมเล่นเกมดังกล่าว ก็จะตกเป็นเหยื่อของพวกอาชญากรโดยไม่ทันตั้งตัว
2. ล่อเหยื่อตกปลาออนไลน์
              ในอดีต เป็นเทคนิคการล่อลวงที่มักจะส่ง URL Link ที่ล่อให้ไปเข้าเว็บไซด์ปลอม ที่ส่งมาทางอีเมล โดยอาชญากร จะหลอกให้ผู้ใช้งานคลิก URL Link ที่อยู่ในอีเมล แต่ปัจจุบันอาชญากรจะส่ง URL Link ที่ย่อให้สั้นลง (URL Shorten) เช่น คลิปวิดีโอหรือไฟล์ของรูปภาพ และนำไปสู่เว็บไซด์ปลอม เพื่อดักขโมยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ผ่านทางสังคมออนไลน์มากยิ่งขึ้น     
3. โค้ดร้ายฝังลึก        
              เป็นเทคนิคการโจมตีผู้ใช้งาน Facebook โดยอาชญากรจะทำการฝังโค้ด หรือสคริปต์การทำงานของตนเองเข้าไปบนหน้าเว็บไซด์ที่มีช่องโหว่ ซึ่งข้อมูลสำคัญของผู้ใช้ Facebook เช่น Username และ Password จะถูกส่งกลับมาให้อาชญากร แทนที่จะผ่านเข้าไปในเว็บไซด์ที่ผู้ใช้ Facebook กำลังเยี่ยมชมอยู่
4. ถูกสวมรอยง่ายๆ แค่เล่น Facebook อย่างไม่ระวัง
              เป็นวิธีการที่อาชญากรใช้ในการโจมตีผู้ใช้ Facebook หรือ Internet Banking โดยการแอบขโมยสิทธิ หรือ Credential ที่ผู้ใช้ได้ล็อกอินเว็บไซด์ ค้างไว้ ซึ่งอาชญากรอาจนำ Credential ของเราไปใช้งานต่อ เช่น ทำการโอนเงินออก จากบัญชีของผู้ใช้งานระบบ Internet Banking โดยผู้ใช้ไม่รู้ตัว เป็นต้น
5.หลอกให้คลิกแต่แอบซ่อนมีดไว้รอเชือด
              เป็นเทคนิคการโจมตีผู้ใช้งาน โดยหลอกให้คลิกรูป ที่ดูล่อตาล่อใจบนเว็บไซด์ ซึ่งอาชญากรจะแอบซ่อน Invisible frame ไว้หลังรูป เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างที่เหยื่อไม่รู้ตัวเลยว่ามี Script มุ่งร้ายแอบซ่อนอยู่
6. โดนหลอกล่อให้ไปเจอ Link ที่อาชญากร รออยู่ 
              ผู้ใช้งาน Facebook อาจถูกโจมตี ด้วยโปรแกรมประสงค์ร้าย ที่สามารถทำการติดตั้งลงบนเครื่อง ของผู้ใช้งาน Facebook เพียงแค่ผู้ใช้งานเข้าไปเยี่ยมเว็บไซด์ ที่อาชญากรโพสต์ เป็น Link ล่อเหยื่อไว้บน Facebook Page และผู้ใช้งาน เผลอดาวน์โหลดโดยไม่รู้ตัว
7. เทคนิคการโจรกรรมข้อมูลขั้นสูงแบบต่อเนื่อง
   
              เป็นเทคนิคการโจมตีขั้นสูงที่มุ่งเน้นเป้าหมายผู้ใช้งาน Internet Banking ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับองค์กร หรือ รัฐบาล โดยอาชญากรสามารถฝังโปรแกรมมุ่งร้าย เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของเป้าหมาย เพื่อแอบโจรกรรมข้อมูลลับ อย่างต่อ เนื่อง เป็นระยะเวลานาน ซึ่งยากต่อการตรวจสอบด้วยโปรแกรม Anti-virus ทั่วไป
              สำหรับ MitB (Man-In-The-Browser Attack) เป็นเทคนิคในการโจมตีที่หลัง Browser ของเหยื่อ มักจะใช้ในการ ทำ Indentity Theft ด้วยเทคนิค Web Field Injection
8. โดนดักข้อมูลลับระหว่างทาง 
              เป็นเทคนิคการโจมตีผู้ใช้งาน Facebook โดยอาชญากรจะทำการดักจับข้อมูลที่ส่งไปมาระหว่างผู้ใช้งาน Facebook กับ   www.facebook.com   แบบเงียบ เพื่อขโมย Username และ Password ของผู้ใช้ และอาจลุกลามไปถึง E-mail Accountด้วย ถ้าใช้ Username และ Password เดียวกัน กับ Facebook
9. บอกเพื่อนว่าเราอยู่ไหน (บอกโจรว่าเราไม่อยู่บ้าน)
              การใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง Facebook หรือ Twitter นั้น อาจทำให้ข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ปัจจุบัน (GPS Location) ของผู้ใช้งาน Facebook หรือ Twitter สามารถถูกเปิดเผยสู่สาธารณะได้ โดยที่เราไม่รู้ตัว จากการใช้งานโปรแกรม ประเภท Foursquare, Google Latitude และ Facebook Place
10. ระวังข้อมูลส่วนตัวหลุดรั่วขณะเล่น Facebook เพลินๆ
              ข้อมูลส่วนต้วของผู้ใช้ Facebook อาจถูกเปิดเผยสู่สาธารณะได้ ถ้าผู้ใช้งาน Facebook ไม่ได้ปรับแก้การตั้งค่าแบบDefault ให้เป็นแบบที่ปลอดภัยมากขึ้น





ทำไมSocial Network ถึงกลายมาเป็นเครื่องมือทางการตลาดยอดนิยมได้

          เนื่องจากการโฆษณาผ่านSocial Network นั้นต้นทุนต่ำแต่มีประสิทธิผลสูง หรือหมายถึงมีประสิทธิภาพในการโฆษณาสูงมาก สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง และกระจายการรับรู้ได้รวดเร็ว ทำให้ธุรกิจต่างๆ ต่างให้ความสนใจ โดยระยะแรกนั้นธุรกิจที่มีขนาดเล็ก มีเงินลงทุนน้อยได้ทดลองใช้งานก่อน และเมื่อประสบความสำเร็จ ก็ทำให้ธุรกิจขนาดใหญ่ต้องลงมาโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่าน Social Network ควบคู่ไปกับสื่อโฆษณาที่เป็น mass marketing อื่นๆ
สำหรับคุณผู้อ่านที่คิดจะลงโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่าน Social Network  microBrand จะนำเสนอในโอกาสหน้าว่า Social Network แต่ละประเภทที่เราได้นำเสนอ ประเภทไหนเหมาะสำหรับอะไร และใช้งานอย่างไร นอกจากนั้น microBrand จะพยายามสรรหาแง่มุมอื่นๆ ของ Social Network มานำเสนอให้คุณๆ ได้อ่านกันอีก








อย่างไรก็ตาม การใช้Social Network มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้ให้เป็นประโยชน์ หรือส่งผลเสียต่อเรา เราจึงควรคำนึงถึงการใช้Social Network ไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไป  หรือใช้Social Network มากเกินจนทำให้เราเสียเวลากับมันโดยที่เราไม่ได้มีเวลาให้กับสิ่งอื่น


4 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาอ่านเข้าใจง่าย

    ตอบลบ
  2. ภัยอันตรายจาก Social Network ในปัจจุบันนั้นมีมากจริงๆ

    ตอบลบ
  3. เนื้อหาดีมาก คงต้องระวังภัยอันตรายจากการใช้
    social network

    ตอบลบ
  4. เดี๋ยวนี้อะไรๆก็โซเชี่ยวจริงๆ

    ตอบลบ